โมโมตาโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมโมตาโร
150
ตุ๊กตาโมดมตาโร
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เพศชาย
บ้านเกิดญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น

โมโมตาโร (ญี่ปุ่น: 桃太郎โรมาจิMomotarō) เป็นวีรบุรุษที่มีชื่อเสียงในคติชนญี่ปุ่น ชื่อของเรื่องราวนี้ยังปรากฏเป็นชื่อเรื่องของหนังสือ ภาพยนตร์ และผลงานอื่น ๆ หลายอัน

มีแนวคิดยอดนิยมที่ว่าโมโมตาโรเป็นวีรบุรุษพื้นบ้านของจังหวัดโอกายามะ แต่ข้ออ้างนี้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยใหม่ และวงการวิชาการไม่ยอมรับแนวคิดนี้เป็นฉันทามติ

เนื้อเรื่อง[แก้]

โมโมตาโรออกจากลูกท้อ

รูปแบบนิทานทั่วไปในปัจจุบัน (แบบมาตรฐาน) สามารถสรุปได้ดังนี้:[1][2]

โมโมตาโรเกิดจากลูกท้อยักษ์ลอยบนแม่น้ำที่หญิงชราไม่มีลูกกำลังซักผ้าอยู่ หญิงคนนั้นกับสามีพบเด็กตอนที่ทั้งคู่พยายามเปิดลูกท้อกิน เด็กคนนี้อธิบายว่าเหล่าทวยเทพให้ตัวเขาเป็นบุตรแก่พวกเขา ทั้งคู่ตั้งชื่อเขาว่า โมโมตาโร จาก โมโมะ (ลูกท้อ) กับ ทาโร (ลูกชายคนโตในครอบครัว) เมื่อเขาอายุ 5 ขวบ เขาสามารถตัดต้นไม้ใหญ่ได้ด้วยมีดเก่า

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โมโมตาโรออกจากบ้านเพื่อไปต่อสู้กับกลุ่ม โอนิ ที่ปล้นขโมยในดินแดนของตน โดยออกตามหาเกาะอันไกลโพ้นที่พวกมันอาศัยอยู่ (บริเวณที่เรียกว่า โอนิงาชิมะ หรือ "เกาะปีศาจ") ระหว่างทาง เขาพบและเป็นเพื่อนกับสุนัข ลิง และไก่ฟ้าพูดได้ที่ยอมช่วยเขาในภารกิจ แลกเปลี่ยนกับอาหารปันส่วนเพียงส่วนหนึ่ง (คิบิดังโงะ) บนเกาะ โมโมตาโรกับเพื่อนสัตว์แทรกซึมเข้าป้อมปีศาจ และเอาชนะหมู่ปีศาจให้ยอมจำนน โมโมตาโรและเพื่อนใหม่ของเขากลับบ้านพร้อมกับสมบัติที่ปีศาจเข้ามาปล้น และหัวหน้าปีศาจเป็นเชลย

แบบมาตรฐานของ "โมโมตาโร" ถูกกำหนดและเป็นที่นิยมเนื่องจากมีการตีพิมพ์ในหนังสือเรียนของโรงเรียนในยุคเมจิ[3]

สิ่งนี้เป็นผลลัพธ์ของการพัฒนาวรรณกรรม "โมโมทาโร่" ที่มีการเขียนและตีพิมพ์มาตั้งแต่ต้นยุคเอโดะถึงเมจิ[2]

การพัฒนาในวรรณกรรม[แก้]

แม้ว่าเรื่องราวแบบมุขปาฐะอาจปรากฏขึ้นในช่วงยุคมูโรมาจิ (1392–1573) เรื่องนี้อาจยังไม่ได้มีการเขียนจนกระทั่งยุคเอโดะ (1603–1867).[2] ผลงานโมโมตาโรที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่สืบอายุได้ถึงสมัยเก็นโรกุ (1688–1704) หรือก่อนหน้านั้น[4][5]

ยุคเอโดะ[แก้]

แบบมุขปาฐะ[แก้]

เนื่องราวนี้มีฉบับมุขปาฐะหลายแบบ

ในบางฉบับ มีกล่องแดงและขาวลอยในแม่น้ำ และเมื่อเก็บกล่องแดง จะพบโมโมตาโรข้างใน กล่องนี้อาจเป็นกล่องแดงหรือกล่องดำ หรือกล่องอาจมีลูกท้อข้างใน เรื่องราวประเภทนี้มักพบในภูมิภาคตอนเหนือของญี่ปุ่น (ภูมิภาคโทโฮกุและโฮกูริกุ)[6][7]

หรือโมโมตาโรอาจมีคุณลักษณะตัวเอกขี้เกียจในเรื่องราว เนตาโร [ja] ประเภทย่อยนี้ได้รับการรวบรวมเป็นหลักในภูมิภาคชิโกกุและชูโงกุ[8][9]

การอ้างเป็นวีรบุรุษพื้นบ้าน[แก้]

โมโมตาโรในตอนนี้ถูกเชื่อมโยงกับนครโอกายามะหรือตัวจังหวัด แต่ความเชื่อมโยงนี้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยใหม่[10] การตีพิมพ์หนังสือ โมโมตาโร โนะ ชิจิตสึ (1930) โดยนัมบะ คินโนซูเกะ เป็นตัวอย่างแนวคิดต้นกำเนิดของโมโมตาโรในโอกายามะได้รับความนิยมมากขึ้น[11] กระนั้น แม้แต่ในช่วงสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (1941–1945) โอกายะมะเป็นเพียงแค่เมืองเข้าชิงที่สามตามหลังอีกสองภูมิภาคที่รู้จักกันในชื่อ บ้านเกิดของโมโมตาโร[12]

เกาะปีศาจ (ญี่ปุ่น: 鬼ヶ島โรมาจิOnigashima) จากเรื่องราวนี้บางครั้งนำไปเชื่อมโยงกับเกาะเมงิจิมะ เกาะในทะเลเซโตะในใกล้ทากามัตสึ เนื่องจากพบมีถ้ำที่มนุษย์ขุดไว้จำนวนมาก[13][14]

อินูยามะมีศาลเจ้าโมโมตาโร [ja]ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้[15][16] ในคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง 1930 อูโจ โนงูจิเขียน "เพลงพื้นบ้าน" สามเพลงสำหรับบริเวณที่พาดพิงถึงตำนานโมโมตาโร[16][a]

ในโฆษณาชวนเชื่อสงคราม[แก้]

การพรรณาโมโมตาโรเป็นทหารในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อสู้กับชาติศัตรูปรากฏขึ้นในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (1894–1895)[17] อิวายะ ซาซานามิดัดแปลงเรื่องราวโมโมตาโรใน ค.ศ. 1894 เพื่แให้ โอนิ อาศัยอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เมื่อดูภูมิรัฐศาสตร์สมัยนั้น บริเวณนั้นอ้างอิงแบบปกปิดบาง ๆ ถึงจีนสมัยราชวงศ์ชิง[18] อิวายะไม่เป็นเพียงแค่บุคคลสำคัญในวงการวรรณกรรมเด็กเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1878[19] ภายหลังอิวายะเขียนหนังสือเรียงความเกี่ยวกับการใช้โมโมตาโรเป็นเครื่องมือในการสอนทั้งเล่มชื่อว่า โมโมตาโร-ชูงิ โนะ เคียวอิกุ ("the Education Theory Based on Principles in Momotaro", 1915)[20]

ภาพการ์ตูนแสดงโมโมตาโรปกป้องญี่ปุ่นจาก โอนิ ที่แทน "ปีศาจตอนเหนือ" รัสเซีย ปรากฏในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ.1904–1905[21]

โมโมตาโรเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรากฏในภาพยนตร์และการ์ตูนสงครามหลายเรื่อง[22] โมโมตาโรแทนรัฐบาลญี่ปุ่น ส่วนรัฐศัตรู (โดยหลักคือฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังรวมสหรัฐ) แทนโอนิที่เป็นปีศาจ[23]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ญี่ปุ่น: 《犬山音頭》《桃太郎音頭》《犬山節》โรมาจิ"Inuyama ondo", "Momotarō ondo", "Inuyama bushi"

อ้างอิง[แก้]

  1. Antoni (1991), pp. 163–164.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kahara (2004), p. 39.
  3. Kahara (2004), p. 39, Kahara (2010), p. 53:
  4. Tierney (2005), p. 143.
  5. Namekawa (1981), p. 25.
  6. Kahara (2010), p. 53.
  7. Seki (1978), pp. 81–83.
  8. Kahara (2004), p. 40, Kahara (2010), p. 53
  9. Namekawa (1981), p. 334.
  10. Kahara (2004), pp. 51, 61, and passim.
  11. Kahara (2004), pp. 44–47.
  12. Kahara (2004), p. 51.
  13. "Oni-ga-shima(or Megijima)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-01.
  14. "Megi-jima/Ogi-jima". Takamatsu City Web Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-31. สืบค้นเมื่อ 2010-09-01.
  15. Namekawa (1981), p. 42, 461.
  16. 16.0 16.1 Michihito, Higashi 東道人 (1995) [1965], Noguchi Ujō to minyō no tabi 野口雨情詩と民謡の旅 (ภาษาญี่ปุ่น), Tōseisha, p. 496, ISBN 9784924440319
  17. Kahara (2010), p. 66.
  18. Tierney (2010), p. 118.
  19. "Iwaya Sazanami, Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. 1993. 1:644.
  20. Kahara (2004), p. 47.
  21. Kamada, Laurel D. (2010). Hybrid Identities and Adolescent Girls, Being "Half in Japan". Multilingual Matters. p. 37. ISBN 9781847692320.
  22. Dower (1993), p. 253.
  23. Reider (2010), pp. 107ff

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Momotaro
  • ข้อความเต็มของ Story of the Son of a Peach ที่วิกิซอร์ซ
  • 文化財指定 [Cultural Property Designation] at Kehi Shrine homepage - The purported "Momotaro" carving (photo postcard)