อาหับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาหับ
กษัตริย์แห่งอิสราเอลเหนือ
ครองราชย์ป.  874 –   853 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าอม-รี
ถัดไปอาหัสยาห์
สวรรคตป.  853 ปีก่อนคริสตกาล
ราโมทกิเลอาด แคว้นซีเรีย
ฝังพระศพเมืองสะมาเรีย ราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ
มเหสีเยเซเบลแห่งไซดอน
พระราชบุตร
ราชวงศ์ราชวงศ์อม-รี
พระราชบิดาอม-รี

ในคัมภีร์ฮีบรู อาหับ (อังกฤษ: Ahab; /ˈhæb/; ฮีบรู: אַחְאָב, ใหม่: ʾAḥʾav, ไทบีเรียน: ʾAḥʾāḇ; แอกแคด: 𒀀𒄩𒀊𒁍 Aḫâbbu; กรีกคอยนี: Ἀχαάβ Achaáb; ละติน: Achab) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 7 ของราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ พระองค์เป็นพระราชโอรสและผู้สืบราชบัลลังก์ของกษัตริย์อม-รี และเป็นพระสวามีของเยเซเบลแห่งไซดอน[1] ในศาสนายาห์เวห์ พระองค์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นต้นเหตุให้เกิด "ความเสื่อมถอยทางศีลธรรม" ในอิสราเอล นักวิชาการถือว่าพระองค์เป็นผู้นมัสการพระยาห์เวห์[2]

การมีตัวตนอยู่ของอาหับในประวัติศาสตร์ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานนอกคัมภีร์ไบเบิล กษัตริย์ชัลมาเนเสอร์ที่ 3 แห่งอัสซีเรียบันทึกเมื่อ 853 ปีก่อนคริสตกาลว่าพระองค์เอาชนะพันธมิตรของกษัตริย์ 12 พระองค์ในยุทธการที่การ์การ์ อาหับเป็นหนึ่งในกษัตริย์เหล่านั้น อาหับยังถูกกล่าวถึงในศิลาจารีกเมชาด้วย[3]

อาหับขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลในปีที่ 38 ของรัชสมัยกษัตริย์อาสาแห่งยูดาห์ และครองราชย์เป็นเวลา 22 ปีตามที่ระบุใน 1 พงศ์กษัตริย์[4] William F. Albright ระบุช่วงรัชสมัยของพระองค์เป็น 869–850 ปีก่อนคริสตกาล ส่วน Edwin R. Thiele ระบุเป็น 874–853 ปีก่อนคริสตกาล[5] ล่าสุด Michael Coogan ระบุช่วงรัชสมัยของอาหับเป็น 871–852 ปีก่อนคริสตกาล[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1 พงศ์กษัตริย์ 16:29–34
  2. Grabbe, Lester (2017). p. 183-184. Ancient Israel: What Do We Know and How Do We Know It?. Bloomsbury. ISBN 978-0-567-67043-4. “ His chief palace overseer Obadiah was a devoted Yhwh worshipper, and Ahab could hardly have been ignorant of that (1 Kgs 17.3). Furthermore, his two sons had theophoric names that contained a form of the divine name Yhwh (Ahaziah [1 Kgs 22.40] and Jehoram [2 Kgs 1.17]), which would hardly have been the case if he had been a Baal worshipper.”
  3. Finkelstein & Silberman 2002, pp. 169–195.
  4. 1 พงศ์กษัตริย์ 16:29
  5. Thiele 1965.
  6. Coogan 2009, p. 237.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Achtemeier, Paul, บ.ก. (1996). The HarperCollins Bible Dictionary. New York: HarperCollins.
  • Coogan, Michael David (2009). A Brief Introduction to the Old Testament: The Hebrew Bible in Its Context. Oxford: University Press. ISBN 978-0-19-533272-8.
  • Craig, James A. (1887). "The Monolith Inscription of Salmaneser II". Hebraica. 3 (4): 201–232. doi:10.1086/368966. JSTOR 527096.
  •  Cook, Stanley Arthur (1911). "Ahab" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 1 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 428–429.
  • Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2002). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Sacred Texts. Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-2338-6.
  • แม่แบบ:Cite Jewish Encyclopedia
  • แม่แบบ:Cite Jewish Encyclopedia
  • Thiele, Edwin Richard (1965). The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings: A Reconstruction of the Chronology of the Kingdoms of Israel and Judah. Paternoster Press.
  • Ussishkin, David (2010). "Jezreel–Where Jezebel Was Thrown to the Dogs". Biblical Archaeology Review. 36 (4).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาหับ
ก่อนหน้า อาหับ ถัดไป
อม-รี กษัตริย์แห่งอิสราเอล
(ราชวงศ์อม-รี)
กษัตริย์แห่งยูดาห์ร่วมสมัย: อาสา, เยโฮชาฟัท, เยโฮรัม

(874–853 ปีก่อนคริสตกาล)
อาหัสยาห์