(Go: >> BACK << -|- >> HOME <<)

ข้ามไปเนื้อหา

การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเคหะแห่งชาติ รัฐวิสากิจ

ความเป็นมา ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย เริ่มปรากฏชัดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและจัดตั้งหน่วยงาน กองเคหสถาน กรมประชาสงเคราะห์ ขึ้นในปี พ.ศ.2483 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หลังจากเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปี พ.ศ. 2504 ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม ได้แก่ สำนักงานอาคารสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์(ในปี พ.ศ.2493) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ในปี พ.ศ.2496) และสำนักงานปรับปรุงแหล่ง เสื่อมโทรมเทศบาลนครกรุงเทพ(ปี พ.ศ.2503) จนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 จึงมีการกำหนดนโยบายให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่อยู่อาศัยขึ้น และได้จัดตั้ง “ การเคหะแห่งชาติ ” ขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน เช่า หรือเช่าซื้อ 2.จัดหาเงินกู้มาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนเช่าซื้อหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บุคคลที่จะสร้างที่อยู่อาศัย 3.ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดสรรที่ดิน และต่อมาในปีพ.ศ.2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติ การเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2537 ดังนี้ 1.จัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย 2.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์ จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช.ในการจัดให้มีเคหะขึ้น เพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อหรือซื้อ 3.ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน 4.ปรับปรุงรื้อหรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมเพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น 5.ประกอบธุรกิจการอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

ผลการดำเนินงาน ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การเคหะแห่งชาติกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยประมาณ 1.2ล้านหน่วย แบ่งเป็นการก่อสร้างร้อยละ 82 และการปรับปรุงชุมชนร้อยละ 18 การเคหะแห่งชาติสามารถดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ 524,543 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 42 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงาน โดยเป็นเป็นการก่อสร้างประมาณ 240,000 หน่วย หรือร้อยละ 46 ของจำนวนหน่วยที่ดำเนินงานแล้วเสร็จ และเป็นการปรับปรุงชุมชนแออัดประมาณ 280,000 หน่วย หรือร้อยละ 54 ของจำนวนหน่วยแล้วเสร็จ ซึ่งผลการดำเนินงานด้านการปรับปรุงชุมชนแออัดเป้าหมายกำหนดที่จะดำเนินการประมาณ 220,000 หน่วย แต่การเคหะแห่งชาติสามารถดำเนินการได้รวม 280,151 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 130 ของเป้าหมาย โดยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นช่วงที่มีการดำเนินการปรับปรุงชุมชนแออัดมากที่สุดถึง 95,000 หน่วย คิดเป็นการดำเนินงานพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ ตรงกลุ่มประชากรเป้าหมายมากที่สุด นอกจากนี้การเคหะแห่งชาติยังมีนวัตกรรมในการดำเนินงานด้านการปรับปรุงชุมชน ซึ่งองค์การสหประชาชาติให้การยอมรับเป็นต้นแบบในการพัฒนาแก่นานาประเทศ