(Go: >> BACK << -|- >> HOME <<)

วัยเรียน วัยฝัน รู้เท่าทัน โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย

1. โรคเลือดจากธาลัสซีเมีย คืออะไร

  • โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีหน่วยพันธุกรรม หรือยีนผิดปกติ ที่ใช้ในการสร้างส่วนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
  • โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
  • พ่อและแม่เป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกติให้ลูก
  • พบผู้ป่วยโรคนี้ได้ทั่วโลก
  • ในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 แต่พบผู้เป็นพาหะของโรค หรือผู้ที่มียีนแฝง ไม่ถึงร้อยละ 40 ของประชากร

2. ผู้เป็นพาหะของโรค เป็นอย่างไร

  • ผู้ที่เป็นพาหะของโรค หรือผู้ที่มียีนแฝงธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่ สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้

3. ทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าเป็นพาหะของโรค

  • เมื่อตรวจเลือดพบว่า ตัวเราเป็นพาหะของโรค ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เราเป็นพาหะของโรค แต่ มิได้เป็นโรคธาลัสซีเมีย ไม่ได้เป็นโรคติดต่อเหมือนโรคอื่นๆ
  • สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ เมื่อถึงเวลาที่จะแต่งงาน หรือใช้ชีวิตคู่ ต้องไปรับคำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ที่ถูกต้อง จากแพทย์ / บุคลากรทางการแพทย์ หรือสาธารณสุข เพื่อหลีกเลี่ยง การมีลูกที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะของโรค

4. เด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย มีอาการอย่างไร

  • เด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จะมีอาการซีด ตาเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต แคระแกร็น หน้าตาเปลี่ยนแปลงไป และมีจมูกแบน ฟันบนยื่น และท้องป่อง ร่างกายเติบโตช้ากว่าปกติ กระดูกเปราะบาง หักง่าย เจ็บป่วยบ่อยๆ
  • ทำให้ขาดเรียนเป็นประจำ เป็นภาระของครอบครัวในการเสียค่าดูแลรักษาไปอีกนาน เพราะโรคนี้ยาก และใช้เวลานาน

5. การปฏิบัติตัว ของเด็กที่เป็นโรค

การรักษาให้หายยาก ทำได้ยาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก แต่ผู้ที่เป็นโรคก็ไม่ควรตื่นตกใจ เพราะการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติ โดยปฏิบัติดังนี้
  • รับประทานผักสด ไข่ นม หรือนมถั่วเหลืองมากๆ
  • ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะว่าฟันผุง่าย
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือการเล่นรุนแรง
  • ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้ และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์

6. รู้ได้อย่างไร ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ หรือเป็นพาหะของโรคหรือไม่ ?

  • เราสามารถรู้ได้ จากการสอบถามประวัติของพ่อ และแม่ และญาติพี่น้องของพ่อแม่ว่า มีใครที่มีลักษณะอาการของ ผู้เป็นโรคนี้บ้างหรือเปล่า
  • ตรวจสอบตัวเอง โดยใช้แบบคัดกรองธาลัสซีเมีย เพื่อทราบว่า เรามีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะ หรือเป็นโรคหรือไม่
  • และที่แน่นอนที่สุด ก็โดยการตรวจเลือดของเรา เพื่อดูว่า มียีนแฝง หรือเป็นพาหะของโรค หรือเป็นโรคหรือไม่

7. มีโอกาสรักษาโรคนี้ ให้หายขาดได้หรือไม่ ?

ในผู้ป่วยที่อายุยังน้อย และไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ตับ ม้าม ไม่โตมาก หรือมีพี่น้องที่มีเม็ดเลือดขาวที่เข้ากันได้ ก็อาจรักษาโดยใช้วิธีปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่ง ทำให้หายจากโรคนี้ได้

 
เมนู ... เกร็ดสุขภาพ