(Go: >> BACK << -|- >> HOME <<)

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา ด้วย ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
บรรทัด 96: บรรทัด 96:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:02, 1 ธันวาคม 2562

อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ไฟล์:Athasit Vejjajiva.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีนายอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้านายวีรวร สิทธิธรรม
นายเด่น โต๊ะมีนา
ถัดไปนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
นายจรูญ งามพิเชษฐ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
ถัดไปศ.นพ.ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 (88 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกราชบัณฑิตยสถาน และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและระบบสมองของไทย บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย

ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 10 คนของนายโฆสิต เวชชาชีวะ น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีพี่ชายคือนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นบิดาของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ นักการเมืองพรรคไทยรักไทย และเป็นพี่ชายของนายวิทยา เวชชาชีวะ ที่เป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศเช่นกัน

ระหว่างเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.อรรถสิทธิ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการศูนย์วินิจฉัยก้าวหน้าและรังสีร่วมรักษา (AIMC) เป็นโครงการนำร่องของการบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ มีระบบบริหารจัดการแบบพิเศษ โดยมูลนิธิรามาธิบดี เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประวัติ

ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่

ประวัติการศึกษา

  • ศิษย์เก่า โรงเรียนอัสสัมชัญ รหัสประจำตัว AC 14825
  • มัธยมศึกษา วิทยาลัยอีตัน ประเทศอังกฤษ
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (มหาวิทยาลัยลอนดอน) ประเทศอังกฤษ
  • วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ (Hon DSc [Med])
  • ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • FRCP, FRCP (T), FRACP, FACP, Hon FRCPGlasg (พ.ศ. 2510-2538)

สาขาที่เชี่ยวชาญ

ชำนาญด้านประสาทวิทยา โดยแบ่งเป็นสาขาต่างๆ กล่าวคือ Demyelinating diseases โดยเฉพาะ multiple sclerosis, Myasthenia gravis, Periodic paralysis, Neurosyphilis

ประวัติการทำงาน

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จำนวน ๓,๐๘๒ ราย) เล่ม ๑๐๘ ตอน ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐) เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จำนวน ๘๒ ราย, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๙ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ประจำปี ๒๕๔๐ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช สาขาสังคมศาสตร์ นายประยูร กาญจนดุล สาขานิติศาสตร์ และนายอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ สาขาแพทยศาสตร์), เล่ม ๑๑๕, ตอน ๑๘ข, ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๖

แหล่งข้อมูลอื่น