(Go: >> BACK << -|- >> HOME <<)

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเค้าโมง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: eu:Glaucidium cuculoides
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* [http://kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/animal_page2.php?animalid=103&page=3 นกเค้าโมง, นกเค้าแมว จาก[[เว็บไซต์]][[กาญจนาภิเษก]]]
* [http://kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/animal_page2.php?animalid=103&page=3 นกเค้าโมง, นกเค้าแมว จาก[[เว็บไซต์]][[กาญจนาภิเษก]]]
{{commons|Category:Glaucidium cuculoides}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Glaucidium cuculoides}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*{{wikispecies-inline|Glaucidium cuculoides}}
*{{wikispecies-inline|Glaucidium cuculoides}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:32, 23 กันยายน 2555

นกเค้าโมง
นกเค้าโมงในรัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Strigiformes
วงศ์: Strigidae
สกุล: Glaucidium
สปีชีส์: G.  cuculoides
ชื่อทวินาม
Glaucidium cuculoides
(Vigors, 1831)
ชนิดย่อย

G. c. austerum (Ripley, 1948)
G. c. bruegeli (Parrot, 1908)
G. c. cuculoides (Vigors, 1831)
G. c. deignani (Ripley, 1948)
G. c. delacouri (Ripley, 1948)
G. c. persimile (Hartert, 1910)
G. c. rufescens (E. C. S. Baker, 1926)
G. c. whitelyi (Blyth, 1867)

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (อังกฤษ: Asian barred owlet, ชื่อวิทยาศาสตร์: Glaucidium cuculoides) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย

นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง

มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า นกเค้าโมง

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคระ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Glaucidium cuculoides ที่วิกิสปีชีส์